E Commerce คืออะไร ทำไมธุรกิจนี้ถึงน่าสนใจ E Commerce แบบไหนดี? อธิบายครบจบที่นี่!

เชื่อว่าชื่อของการทำธุรกิจแบบ  E Commerce เป็นแนวทางการทำธุรกิจที่ถูกพูดถึงมาอย่างต่อเนื่อง จนปฏิเสธไม่ได้เลยว่าถ้าจะเข้ามาค้าขาย ทำธุรกิจ ควรมีความรู้ความเข้าใจว่า E Commerce คืออะไร เพื่อที่จะเลือกวางแผนการตลาด หรือออกแบบแนวทางการทำธุรกิจให้สอดคล้องกัน วันนี้เราได้รวมทั้งข้อมูล และประเภทของการทำ E Commerce ช่องทางการขาย การโปรโมต ข้อดี และสิ่งที่ควรระวังของการทำการตลาดสไตล์นี้ มาให้คุณได้เก็บข้อมูลไปปรับใช้กันแล้ว

มารู้จักกันก่อนว่า E Commerce คืออะไร

เพื่อให้เข้าใจกันง่ายที่สุด E Commerce คือ ‘ธุรกิจแบบอิเล็กทรอนิกส์’ ที่จะมีการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านช่องทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่ทำงานบนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งถ้าจะนิยามให้ชัดก็เป็นการซื้อขายผ่านโลกออนไลน์นั่นเอง ซึ่งสำหรับในไทยการขายในรูปแบบนี้มีผลมาก เพราะจากสถิติคนไทยใช้อินเทอร์เน็ตเกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน และมีการซื้อของออนไลน์สูงสุดเป็นอันดับ 3 ของโลกกันเลยทีเดียว ดังนั้นถ้าคุณทำ E Commerce แปลว่ามีโอกาสในการเข้าถึงลูกค้าสูง และตรงกลุ่มมากขึ้นกว่าการขายแบบออฟไลน์

ประเภทธุรกิจของ E Commerce มีอะไรบ้าง

การขายของ E Commerce คือ แนวทางที่มีให้เลือกหลากหลาย ซึ่งรูปแบบหลัก ๆ ของธุรกิจ E-Commerce คืออะไรบ้าง มาดูกัน

Business to Business: B2B

เป็นการขายระหว่างธุรกิจกับธุรกิจด้วยกัน มักจะเป็นรูปแบบของผู้ประกอบการ ซื้อสินค้าไปทำการผลิต หรือเพิ่มคุณค่าต่อ ซึ่งระบบ E Commerce จะเข้ามาทำให้กระบวนการง่าย เร็ว ชัดเจน เสริมประสิทธิภาพให้กับทั้งสองฝ่ายได้มากขึ้น

Business to Consumer: B2C

ตัวนี้เป็นการขายจากผู้ค้าถึงลูกค้าโดยตรง จะเห็นกันบ่อยที่สุดในชีวิตประจำวัน เพราะเน้นการทำโฆษณามากที่สุด มีกิจกรรมทางการตลาดอยู่เสมอ ซึ่งพอทำแบบเว็บไซต์ E-Commerce คือสามารถตัดตัวกลางลดต้นทุนไปได้ไม่น้อย และยังสามารถสานสัมพันธ์กับลูกค้าได้โดยตรงอีกด้วย

Business to Government: B2G

การขายแบบนี้เหล่าธุรกิจจะทำกับภาครัฐ ซึ่งจะต้องเสนอราคา มีรายละเอียดตามข้อกำหนด มีการเปรียบเทียบราคา และยังมีการกำหนดสัญญาที่ชัดเจน ธุรกิจที่ได้เข้ามาทำมักจะเป็นรายใหญ่ที่มีประสบการณ์

Consumer to Consumer: C2C

การขายแบบนี้นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ คือการที่ผู้บริโภคซื้อขายกันเอง โดยใช้ Social E Commerce คือช่องทางหลัก และยังมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันอีกด้วย ประเภทที่เห็นกันเยอะ ๆ คือ การซื้อขายของมือสอง ผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ นั่นเอง

E Commerce Platform มีช่องทางไหนบ้าง

บอกเลยว่าช่องทางในการขายออนไลน์ หรือ E Commerce Platform คือทางเลือกที่มีหลากหลายมากในปัจจุบัน ซึ่งเราจะแบ่งเป็นกลุ่มให้คุณสามารถนำไปวางแผนได้ง่ายมากขึ้น ดังนี้

1. Social Commerce

กลุ่มนี้ก็คือบรรดา Social Media ต่าง ๆ นั่นเอง ซึ่งหลายตัวก็เพิ่มฟีเจอร์ที่ช่วยให้การซื้อขายออนไลน์เป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นมาให้ทุกคนได้ใช้กัน การขายในช่องทางนี้ถือว่าง่าย คนใช้เยอะ กลมกลืนไปกับการใช้ชีวิตประจำวัน และไม่ค่อยมีเรื่องค่าธรรมเนียมมากวนใจ ยกตัวอย่างที่นิยมใช้กัน เช่น Facebook Marketplace, Instagram Shop และ LINE Shopping เป็นต้น

2. E Marketplace

กลุ่มนี้จะเป็น E Commerce Website ที่ง่ายกับคนซื้อตรงที่รวมร้านค้าต่าง ๆ เอาไว้ให้คุณในที่เดียว ร้านค้าเองก็สามารถเจอลูกค้าได้ง่ายขึ้น เพราะคนใช้เยอะ และคนที่เข้ามามีความตั้งใจจะค้นหา มาพร้อมการสนับสนุนด้านการตลาดต่าง ๆ จากแพลตฟอร์ม ที่เห็นได้ชัดที่สุดในยุคนี้คือ Shopee, Lazada และ Konvy นั่นเอง

3. E Tailer

รูปแบบ E Commerce หมายถึง การขายออนไลน์ ซึ่งการขายแบบนี้คือการที่การที่ธุรกิจขนาดใหญ่หันมาเปิดช่องทางการขายของตนเอง แบบไม่ผ่านแพลตฟอร์มตัวกลาง และทำการบริหารจัดการทุกขั้นตอนเองทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่น Central, Tesco และ Power Buy เป็นต้น

4. Quick Commerce

ตัวนี้เป็นการซื้อขายออนไลน์แบบรวดเร็ว ตามสั่ง จะเป็นพวกกลุ่มอาหารเครื่องดื่มเป็นหลัก ทั้งจากร้านค้า หรือพวกร้านสะดวกซื้อ เช่น Grab, LINEMAN และ All-Online (7-eleven) เป็นต้น

อยากโปรโมต E Commerce ต้องทำอย่างไร

เมื่อเริ่มทำเป้าหมายของ E Commerce คือ การสร้างยอดขาย แต่ถ้าอยู่เฉย ๆ อาจทำให้ยอดเดินช้า ดังนั้นเราต้องกระตุ้นด้วยการโปรโมต โดยวันนี้เราหยิบเอาไอเดียการโปรโมตเบื้องต้น มาแนะนำให้คุณได้นำไปใช้ต่อยอดในแบบของตัวเอง ที่เหมาะกับ E Commerce ในไทยกัน

ทำ SEO

การโปรโมตที่เหมาะกับการขายออนไลน์มากที่สุดในยุคนี้คือการทำ SEO หรือ Search Engine Optimization นั่นเอง วิธีนี้ยังน่าสนใจตรงที่คุณสามารถทำได้ฟรี เพียงเข้าใจหลักการค้นหา ก็สามารถพาสินค้าไปอยู่ต่อหน้าคนที่ต้องการซื้อกันได้แล้ว แต่อาจเป็นวิธีที่ต้องอาศัยความใจเย็น และวางแผนในระยะยาว แต่เมื่อทำได้แล้วจะเห็นผลมาถึงยอดขายและการเป็นที่รู้จักมากขึ้นอย่างแน่นอน ในปัจจุบันถ้าไม่ถนัดจะทำเองการจ้างบริษัทที่รับทำ SEO ช่วยทำให้ผลลัพธ์เกิดเร็ว และสะดวกกับคุณมากขึ้น

สร้าง Content

ไม่ว่าจะขายอะไรก็ย่อมมี Content หรือเนื้อหาที่เป็นประโยชน์กับลูกค้าที่สนใจเสมอ วิธีการนี้เป็นการขายอย่างจริงใจ ช่วยให้ไอเดีย และเพิ่มความสำคัญให้กับสินค้าและบริการของคุณได้ เรื่องนี้มีส่วนสำคัญในการเพิ่มการรู้จัก และความน่าเชื่อถือให้กับคุณ

อีเมลยังคงน่าใช้อยู่

ส่วนใหญ่คุณจะสามารถได้รับข้อมูลอีเมลของผู้ที่สนใจสินค้าของคุณ ดังนั้นคุณสามารถส่งสารที่ตรงจุดไปให้คนที่สนใจ เพื่อกระตุ้นการขายให้เกิดขึ้น หรืออย่างน้อยก็เป็นการแจ้งข่าวสารที่เป็นประโยชน์กับพวกเขา แนะนำว่าถ้ามีโปรโมชั่นแทรกเข้าไปกับอีเมลจะช่วยกระตุ้นการซื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น และยังเป็นการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าอย่างต่อเนื่องอีกด้วย

ซื้อโฆษณา

ไม่ว่าจะเป็นการทำ SEM หรือการจ่ายเพื่อให้เนื้อของคุณติด Search Engine ผ่านทาง Google Ads

หรือซื้อโฆษณาจาก Facebook หรือ โซเชียลมีเดีย เพื่อให้สินค้าและบริการของคุณโฆษณาส่งตรงไปยังกลุ่มเป้าหมายที่คุณต้องการ ก็สามารถสร้างการรับรู้ พร้อมทั้งยังช่วยเพิ่มยอดขายได้เป็นอย่างดี เพราะเมื่อสินค้าและบริการที่กำลังสนใจปรากฏตรงหน้า ก็ย่อมกระตุ้นการซื้อได้ง่ายขึ้นอย่างแน่นอน

ข้อดีที่ E Commerce ตอบโจทย์ธุรกิจได้

ใครที่กำลังวางแผนการทำ E Commerce ว่าจะสามารถตอบโจทย์ความต้องการธุรกิจของคุณได้ในด้านไหนบ้าง วันนี้เรามาดูกันดีกว่าว่าข้อดีของ E Commerce คืออะไร เพื่อนำไปใช้สร้างไอเดียกัน

  • ช่วยเพิ่มการสั่งซื้อที่รวดเร็ว
  • สร้างรายการสินค้าง่าย และนำเสนอข้อมูลได้ในครั้งเดียว ช่วยประหยัดเวลา
  • ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายหน้าร้าน
  • ทำการโฆษณาไปถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุด
  • ร้านค้าของคุณจะพร้อมให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้เพิ่มยอดขายได้
  • ลูกค้าสามารถเปรียบเทียบราคาสินค้าได้ง่าย คุณเองก็สามารถเห็นราคาคู่แข่งเพื่อนำมาปรับแผนการตลาดได้ง่ายเช่นกัน
  • ช่องทางนี้สามารถพาคุณไปถึงกลุ่มลูกค้าได้ทั่วโลก อย่างไม่มีการจำกัดจำนวน
  • สามารถที่จะโต้ตอบลูกค้าได้ไว รับมือกับความต้องการ และแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว
  • มาพร้อมช่องทางการชำระเงินที่ปลอดภัยกับทั้งสองฝ่าย และยังมีการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบอีกด้วย

ข้อควรระวังของงาน E-Commerce คืออะไร

แม้ว่า E Commerce จะมีข้อดีมากมาย และแน่นอนว่าเป็นตัวช่วยที่เรียกว่าแทบจะขาดไม่ได้ของโลกธุรกิจในปัจจุบัน แต่ก็มีแง่มุมที่คุณจะต้องระวังเช่นเดียวกัน สิ่งเหล่านั้นบนโลก E Commerce คืออะไรมาดูกัน

  • ความไม่ปลอดภัยของข้อมูล ที่เหล่ามิจฉาชีพจ้องหาช่องว่าง ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายต้องคอยระวังเรื่องนี้อยู่เสมอ
  • ในไทยเองยังไม่มีธนาคารที่ช่วยรับประกันความเสี่ยง
  • หากธุรกิจไม่น่าเชื่อถืออาจทำให้ลูกค้าไม่มั่นใจ เพราะการซื้อออนไลน์ต้องให้ข้อมูลส่วนตัวหลายอย่าง
  • มาพร้อมกฎเกณฑ์ตามกฎหมายที่ต้องคอยระวัง ไม่อย่างนั้นอาจเกิดความผิดพลาดเสียหายขึ้นได้
  • การปลอมแปลงข้อมูลทั้งฝั่งคนขายที่อาจโดนปลอมข้อมูลไปหลอกลูกค้า และลูกค้าที่อาจโดนร้านที่ไม่มีตัวตนจริงหลอกลวง

คุณสามารถทำ E Commerce ให้มีคุณภาพได้ง่าย ๆ ที่ SEONO1

ระบบการขายแบบ E Commerce ถ้าได้เจอผู้เชี่ยวชาญช่วยจัดการให้บอกเลยว่าเจ้าของธุรกิจจะทำงานง่ายขึ้น เหลือเวลาไปใส่ใจกับดีเทลการผลิต การสต็อกของ และการขนส่งให้ถึงมือลูกค้า ส่วนการขายผ่านช่องทางออนไลน์ให้ SEONO1 ช่วยใช้ SEO โปรโมทให้คุณกันดีกว่า มั่นใจได้เลยว่าธุรกิจของคุณจะสามารถเติบโตได้อย่างน่าเชื่อถือ

คุณสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 087-778-9777 หรือ LINE พร้อมทั้งติดตามข้อมูลอัปเดตในวงการธุรกิจออนไลน์ได้ที่ Facebook

คำถามที่พบบ่อย เกี่ยวกับ E Commerce คือ

E-commerce คืออะไร จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง

การขายสินค้าหรือบริการบนอินเทอร์เน็ต ผ่านการนำข้อมูลมาแปลงโฉม ให้เป็นย่านค้าขายกลางเมือง หรือร้านค้าปลีกบนโลกอินเทอร์เน็ต เช่น การขายของผ่าน Facebook หรือใช้ Shopee ในการเข้าถึงลูกค้า เป็นต้น

E-commerce ทํางานอย่างไร

ผู้ขายลงข้อมูลตามช่องทางที่คาดว่าจะเข้าถึงลูกค้า เมื่อลูกค้าเห็นได้ศึกษาข้อมูล ตกลงซื้อ ชำระเงินผ่านออนไลน์ ผู้ขายได้รับคำสั่งและจัดส่งตามข้อมูลที่ได้รับ

E-commerce คือตําแหน่งอะไร

สายงาน E Commerce นั้นประกอบด้วยหลากหลายตำแหน่งมาช่วยในการทำงานให้เป็นระบบ เช่น Social Media Associate สร้างสรรค์เนื้อหาสินค้าและบริการ Graphic Designer ทำรูปภาพหรือวิดีโอให้สินค้าและบริการน่าสนใจขึ้น Web Developer ช่วยพัฒนาช่องทางขายให้น่าสนใจและปลอดภัย Customer Service ที่คอยดูแลลูกค้า และ Logistics Associate ระบบขนส่งเพื่อให้ลูกค้าได้รับสินค้าตามที่สั่งซื้อ

E-commerce มีธุรกิจอะไรบ้าง

– สินค้าที่จับต้องได้ อาทิ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ เสื้อผ้า สินค้าอุปโภคบริโภค
– สินค้าที่จับต้องไม่ได้ หรือสินค้าดิจิทัล (Digital Good) เช่น แอปพลิเคชัน ซอฟต์แวร์ เพลง หนัง รูปภาพ รหัส หรือไอเท็มในเกม
– บริการ เช่น ตั๋วเครื่องบิน โรงแรมที่พัก บริการสปา คลินิกเสริมความงาม

คะแนน SEO
กด 5 ดาวถ้าชอบบทความนี้
[Total: 0 Average: 0]