อาหารไหว้ตรุษจีน กินอย่างไร ไม่ทำร้ายสุขภาพ

สำหรับ วันตรุษจีนนั้น มีความสำคัญเป็นอย่างมากเลยนะคะ จัดเป็นประเพณีนิยมของชาวจีนและคนไทยเชื้อสายจีนทั่วโลกซึ่งถือว่า วันตรุษจีน เป็นเทศกาลที่สำคัญที่สุดของจีน เป็นวันขึ้นปีใหม่ตามปฎิทินจีน Chinese New Year 2023 วันส่งเจ้าขึ้นสวรรค์ ปี 2566 (ซิ้งเจียที) ประเพณีสำคัญก่อนวันตรุษจีน ในปีนี้ตรงกับวันที่ 15 มกราคม 2566 ส่วน วันตรุษจีน 2566 ตรงกับวันที่ 22 มกราคม 2566 ของปีนี้นะคะ

วันตรุษจีน คือ เทศกาลเฉลิมฉลองขึ้นปีใหม่ ตามธรรมเนียมประเพณีของประเทศจีนที่มีมาอย่ายาวนาน และยังมีความสัมพันธ์ผูกติดกับเรื่องของความเชื่อต่าง ๆ โดยเฉพาะอาหารคาว หวาน ที่นำมาไหว้ขอพรเทพเจ้า หรือรำลึกถึงบรรพบุรุษในตระกูลที่ล่วงลับไปแล้วอีกด้วยนะคะ หลังจากเสร็จพิธีกรรมแล้วนั้น อาหารจะถูกนำมารับประทานเพื่อความเป็นสิริมงคลนะคะ ดังนั้นในการเลือกซื้อของที่นำมาไว้ไหว้ ควรคำนึงถึงสุขภาพที่ดีของตนเองและครอบครัวด้วยเช่นกันนะคะ

อาหารไหว้ตรุษจีนที่แฝงไปด้วยความหมายมงคลต่างๆ หากทานเน้นเพียงแค่ความอร่อยมากกว่าการคำนึงถึงประโยชน์ที่ควรได้รับแล้วนั้น อาจจะเป็นการสะสมโรคเพิ่มได้ โดยเฉพาะคนที่มีโรคประจำตัวนะคะ และคำอวยพรในช่วงเทศกาลตรุษจีนของทุกๆปีนั้น คงหนีไม่พ้นเรื่องการขอให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง เพราะหากมีสุขภาพดีแล้ว เราย่อมทำอะไรได้อีกหลายอย่าง ซึ่งจะส่งผลให้เรานั้นสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขนะคะ และเป็นที่รู้กันดีเลยนะคะว่า อาหารไหว้ตรุษจีนนั้น ส่วนใหญ่มักจะเน้นหนักไปทางน้ำมัน แป้ง และน้ำตาล ซึ่งคนรักสุขภาพอาจทำใจยากสักหน่อยนะคะ หากต้องร่วมกินเลี้ยงกับครอบครัว ในช่วงเทศกาลนี้ แต่ก็ไม่ตกกังวลมากไปนะคะ บทความนี้จะมาแนะนำ หลักในการเลือกทานอย่างไรบ้างนะคะ ถึงจะดีต่อสุขภาพ และถ้าหากคนในครอบครัวของเรามีใครเป็นโรคประจำตัว เราก็จะได้แนะนำวิธีการรับประทานได้อย่างถูกต้องอีกด้วยค่ะ ลองมาดูกันนะคะ ว่ามีคำแนะนำอย่างไรกันบ้าง

อาหารไหว้ตรุษจีน ที่คนมีโรคประจำตัวควรเลี่ยง

      สำหรับในช่วงเทศกาลตรุษจีนนี้ ฝ่ายโภชนาการกองส่งเสริมสาธารณสุข สำนักอนามัย ได้พูดถึงอาหารไหว้ตรุษจีนว่า ส่วนใหญ่มักเป็นอาหารที่มีปริมาณไขมันสูง แต่ก็ใช่ว่าต้องงดทานไขมันอย่างเด็ดขาดเลยนะคะ ความจริงแล้ว ทานได้ แต่ควรทานในประมาณที่เหมาะสม นั่นคือ อย่างน้อยร้อยละ 15–20 เพื่อให้ร่างกายได้ดูดซึม นำไปใช้ในการรักษาสุขภาพ และการทำงานขอ   งร่างกาย เช่น นำไปใช้ในการทำงานร่วมกันของวิตามินเอ ดี อี และ เค ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตในวัยเด็ก และการรักษาสุขภาพผิวพรรณของผู้ใหญ่ เป็นต้นค่ะ


      หากเราบริโภคไขมันมากเกินที่ร่างกายต้องการแล้วนั้น ก็จะถูกสะสมกลายเป็นไขมันส่วนเกิน ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา ได้แก่ โรคอ้วน โรคหัวใจและหลอดเลือด ข้อเข่าอักเสบ โรคเบาหวานได้นะคะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว ควรเพิ่มความระมัดระวังเรื่องการรับประทานอาหารมากเป็นพิเศษนะคะ เพราะส่วนประกอบหรือสารประกอบบางอย่างในอาหาร มีผลต่ออาการของโรคให้เป็นหนักขึ้น โดยเฉพาะอาหารต่อไปนี้ 
  1. กุนเชียง
    • มีส่วนผสมของเกลือไนไตรท์ (Nitrite) และ มันหมู
    • ไม่เหมาะกับผู้ที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคตับอักเสบ และกลุ่มที่มีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง
  2. มันหมู หนังเป็ด และหนังไก่
  • มีส่วนผสมของ คอเลสเตอรอล และให้พลังงานสูง
  • ไม่เหมาะกับผู้ที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคตับอักเสบ และกลุ่มที่มีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง

3. เห็ด

  • มีส่วนผสมของพิวรีน
  • ไม่เหมาะกับผู้ที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคเก๊าท์

4. ขนมเทียน ขนมเข่ง และขนมมัดไต้

  • มีส่วนผสมของแป้ง น้ำตาล กะทิ และเกลือ
  • ไม่เหมาะกับผู้ที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคไต และโรคตับอักเสบ

5. ผัดหมี่ซั่ว

  • มีส่วนผสมของเกลือ (พบในเส้นหมี่ซั่ว)
  • ไม่เหมาะกับผู้ที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคความดันโลหิต โรคไต และโรคเบาหวาน

6. เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

  • มีส่วนผสมของพิวรีนสูง และให้พลังงานสูง
  • ไม่เหมาะกับผู้ที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคเก๊าท์ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน และโรคตับอักเสบ นอกจากนี้แล้ว กรมอนามัยยังแนะนำอีกด้วยนะคะว่า ไม่ใช่แต่เฉพาะเทศกาลตรุษจีนเท่านั้น ที่ควรระมัดระวังเรื่องการ บริโภคอาหาร การกินเลี้ยงในเทศกาลอื่น ๆ ก็เช่นเดียวกันค่ะ ซึ่งทั้งคนที่มีสุขภาพแข็งแรงดีแล้ว และมีโรคประจำตัว ก็ควรจะใส่ใจถึงข้อปฏิบัติโภชนบัญญัติ 9 ประการ ดังต่อไปนี้ด้วยเช่นกันนะคะ

ข้อปฏิบัติโภชนบัญญัติ 9 ประการ

      1. กินอาหารครบ 5 หมู่ กินแต่ละหมู่ให้หลากหลาย และหมั่นดูแลน้ำหนักตัว 
      2. กินข้าวเป็นอาหารหลัก สลับกับอาหารประเภทแป้งเป็นบางมื้อ 
      3. กินพืชผักให้มาก และกินผลไม้เป็นประจำ 
      4. กินปลา เนื้อสัตว์ ไม่ติดมัน ไข่ และถั่วเมล็ดแห้งเป็นประจำ 
      5. ดื่มนมให้เหมาะสมตามวัย 
      6. กินอาหารที่มีไขมันแต่พอควร 
      7. หลีกเลี่ยงการกินอาหารรสหวานจัดและเค็มจัด 
      8. กินอาหารที่สะอาดปราศจากการปนเปื้อน 
      9. งดหรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ 

การกินเลี้ยงฉลองเทศกาลตรุษจีนกับครอบครัว จะไม่ทำให้สุขภาพของเ ราแย่ลงได้เลยนะคะ ถ้าหากเราใส่ใจเรื่องโภชนาการเล็ก ๆ น้อย ๆ ยกตัวอย่างเช่น

  • ลดปริมาณการใช้น้ำมัน และเกลือในการปรุงอาหารต่างๆ เช่น เมนูไก่รวน
  • เลือกเนื้อสัตว์ที่สดใหม่ ไร้ร่องรอยความผิดปกติ หรือติดเชื้อ เน่าเสีย
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีสีฉูดฉาด โดยเฉพาะขนม เพราะมักจะประกอบไปด้วยสารโลหะหนัก
  • ระมัดระวังเชื้อราที่ปนมากับของแห้ง เช่น หมี่ซั่ว ปลาหมึกแห้ง เห็ดหอม ขนมถ้วยฟู เป็นต้น หรือจะจิบชาร้อนเพื่อกระตุ้นการเผาผลาญไขมัน เน้นทานเนื้อปลา เห็ด และไก่ มากกว่าเนื้อหมู รวมถึงเรื่องการทานขนมหวาน เช่น ขนมเข่ง ขนมเทียน ขนมสาลี่ ซาลาเปา ในปริมาณที่พอดี อย่างน้อยวันละ 1-2 ชิ้นก็พอแล้วค่ะ เพียงเท่านี้เราก็จะได้ทั้งความอร่อย อิ่มอก อิ่มใจ และไม่ทำร้ายสุขภาพด้วยค่ะ
คะแนน SEO
กด 5 ดาวถ้าชอบบทความนี้
[Total: 0 Average: 0]