เช็ค 8 จุด “ชาร์จมือถือ” เสี่ยง โดนแฮก ข้อมูล

จากกระแสข่าวการโจมตีดูดเงินจากบัญชีธนาคารของในไทยนั้น มีมานานหลายเดือนแล้วนะคะ โดยข้อสรุปคือโนโจมตีผ่านมัลแวร์นั่นเองค่ะ ซึ่งมัลแวร์เหล่านั้นมีความสามารถในการอ่านและ SMS โดยที่ผู้ใช้ไม่รู้ตัว คนร้ายสามารถดูหน้าจอของเหยื่อได้จากระยะไกล และควบคุมได้โดยที่เหยื่อไม่ต้องทำอะไรเลย โดยอาศัยฟีเจอร์ของโทรศัพท์ที่เปิดให้ติดตั้งแอปช่วยเหลือสำหรับคนพิการ ที่สำคัญคือประเทศไทยขาดการประสานงานกับผู้ผลิต ทำให้มัลแวร์เหล่านี้ไม่ถูกเตือนว่าเป็นซอฟต์แวร์มุ่งร้าย และมีการยืนยันแล้วนะคะ ว่ากรณีดังกล่าวไม่ได้เกิดจากสายชาร์จปลอมหรือ สายชาร์จดูด / แฮกข้อมูลแต่อย่างใดค่ะ

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นแล้ว คนส่วนใหญ่ก็ยังคงวิตกกังวลกับเรื่องสายชาร์จดูดข้อมูลกันอยู่นะคะ ดังนั้นบทความนี้ จึงได้รวบรวมข้อควรระวัง และ 8 สถานที่ควรระวังในการชาร์จโทรศัพท์มือถือมาฝากกันค่ะ

8 สถานที่ควรระวังการชาร์จโทรศัพท์มือถือ 
 

  1. จุดชาร์จที่สนามบิน หรือบนเครื่องบิน

ไม่ควรนำแค่สาย USB มาเสียบที่พอร์ต USB ชาร์จมือถือ เพราะโดนล้วงข้อมูลได้ง่าย เพื่อความปลอดภัยควรนำ Adapter ของมือถือมาด้วย และเสียบผ่าน Adapter มือถือเข้ากับสาย USB มือถือก่อนชาร์จ เพื่อให้มั่นใจว่าใช้สำหรับชาร์จเท่านั้น ไม่โหลดข้อมูลมือถือ
 

  1. รถไฟ

มีพอร์ตแบบ USB ให้บริการชาร์จ แต่เสียบแล้วมีโอกาสข้อมูลรั่วไหลเหมือนกัน และไม่มีปลั๊กทั่วไปสำหรับใช้ Adapter ให้เสียบด้วย ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย เตรียมแบตเตอรี่สำรอง หรือ Power Bank ส่วนตัวในการชาร์จไฟด้วย
 

  1. โรงแรม

มีพอร์ต USB ในการชาร์จไฟ และมีรูปลั๊กไฟให้บริการ แต่แนะนำเสียบกับรูปลั๊กไฟปลอดภัยกว่า 
 

  1. รถเช่า

หลายท่านท่องเที่ยวต่างประเทศ หรือต่างจังหวัด และใช้บริการรถเช่า ก็ไม่ควรนำมือถือมาชาร์จกับรถเช่า เพราะมีโอกาสถูกขโมยข้อมูลได้เช่นกัน โดยเฉพาะนำมือถือมาเสียบกับ USB เพื่อฟังเพลงจากรายชื่อเพลงในมือถือ เสี่ยงถูกขโมยข้อมูลได้ หรือจะชาร์จด้วย adapter ชาร์จไฟมือถือของรถยนต์ จะปลอดภัยกว่า
 

  1. จุดชาร์จตามสถานที่ท่องเที่ยว

นอกจากอันตรายต่อข้อมูลในมือถือแล้ว อาจเป็นอันตรายต่อตัวคุณด้วย หากมีมิจฉาชีพมาเข้าใกล้เพื่อขโมยมือถือ ซึ่งรู้ได้หากคุณชาร์จมือถือ ณ จุดบริการชาร์จไฟฟรี
 

  1. จุดชาร์จไฟตามห้างสรรพสินค้า

หากคุณชาร์จด้วยสายชาร์จ USB เสียบกับพอร์ต USB ก็มีโอกาสที่จะถูกขโมยรายชื่อผู้ติดต่อของคุณ, อีเมล ข้อความ,เสียงรูปภาพและวิดีโอ ที่อยู่ในมือถือได้ โดยเป้าหมายของแฮกเกอร์คือ ข้อมูลการเงิน หรือรหัสของแอปธนาคารออนไลน์
 

  1. ห้องสมุด

อาจดูเหมือนเป็นพื้นที่ปลอดภัย แต่ควรหลีกเลี่ยงการเสียบอุปกรณ์มือถือ เข้ากับพอร์ต USB เพราะหากเสียบพอร์ต USB มีความเสี่ยงที่จะเกิดการถูกถ่ายโอนข้อมูลได้เช่นกัน
 

  1. ร้านกาแฟ

เป็นอีกสถานที่หนึ่ง ที่อาจจะเสี่ยงต่อการถูกขโมยข้อมูลเช่นกัน ควรระวังการชาร์จผ่านพอร์ต USB เพื่อความปลอดภัยก็ควรจะนำ Adapter ติดตัวไปด้วย สำหรับชาร์จโทรศัพท์มือถือจะเป็นการดีที่สุด
 
ทั้งนี้ มีคำแนะนำว่า หากไม่มี Adapter ชาร์จไฟ ในการชาร์จสมาร์ทโฟน และจำเป็นต้องเสียบสาย USB เพื่อชาร์จไฟในสถานที่เสี่ยง เพื่อความปลอดภัย ให้ปิดเครื่องมือถือให้สนิท ก่อนเสียบสาย USB จะเป็นการชาร์จผ่านกระแสไฟฟ้า โดยไม่มีการโหลดข้อมูลในมือถือนะคะ

และธนาคารแห่งประเทศไทยและสมาคมธนาคารไทย ได้ทำการแถลงข่าวถึง กรณีที่มีเหยื่อถูกโจมตีเพื่อดูดเงินออกจากบัญชีเป็นจำนวนมาก พบว่ากรณีดังกล่าวไม่ได้เกิดจากสายชาร์จปลอมหรือ สายชาร์จดูด / แฮก ข้อมูลแต่อย่างใดนะคะ สาเหตุจริงๆคือเหยื่อถูกหลอกให้ติดตั้งมัลแวร์นั่นเองค่ะ

ดังนั้นทั้งสองหน่วยงานจึงออกมา แนะนำถึงวิธีการป้องกันตัวเอง และลดความเสียหาย จากการตกเป็นเหยื่อของพวก มิจฉาชีพ 5 ข้อ ดังนี้นะคะ

  1. ไม่คลิกลิงก์จาก SMS, LINE, หรืออีเมล ที่มีที่มาไม่น่าเชื่อถือจ
  2. ไม่ดาวน์โหลดโปรแกรมนอกสโตร์ทางการ เช่น App Store หรือ Google Play Store
  3. อัพเดตแอป Mobile Banking เป็นเวอร์ชั่นล่าสุดเสมอ
  4. ไม่ใช้โทรศัพท์ ในระบบปฎิบัติการล้าสมัย ไม่ใช้เครื่องที่ไม่ปลอดภัย เช่นถูก jailbreak
  5. ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ข้อมูลที่ถูกต้อง เพื่อให้แก้ไขปัญหาได้รวดเร็ว
คะแนน SEO
กด 5 ดาวถ้าชอบบทความนี้
[Total: 0 Average: 0]