แก๊งคอลเซ็นเตอร์ (Call Center Gang) คือ ขบวนการหลอกเหยื่อทางโทรศัพท์โดยการสร้างสถานการณ์ ให้เหยื่อเกิดความตื่นตระหนก หรือเข้าใจผิดว่าได้รับผลประโยชน์บางอย่าง ผลเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับเหยื่อ ได้แก่ ถูกหลอกให้โอนเงินจนหมดบัญชี ,ถูกหลอกถามข้อมูลบัตรเครดิต เพื่อนำไปซื้อสินค้าออนไลน์ ทำให้เหยื่อเป็นหนี้ ,ถูกสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล เช่น เลขที่บัญชี เลขที่บัตรประชาชน โดยมิจฉาชีพเหล่านั้น อาจจะนำข้อมูลดังกล่าว เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสวมตัวตนสมัคร Application ทางการเงินของเหยื่อได้ค่ะ ซึ่งได้สร้างความเสียหายมากมายให้กับผู้คนที่ตกเป็นเหยื่อนะคะ บทความนี้จึงจะมานำเสนอเกี่ยวกับพฤติกรรมของเหล่า แก๊งคอลเซ็นเตอร์ พร้อมทั้ง ทักษะรับมือกับแก๊งคอลเซนเตอร์กันค่ะ
หลายคนน่าจะเคยได้รับสายแปลก ๆ จากแก๊งคอลเซนเตอร์กันมาบ้างแล้วใช่ไหมคะ ซึ่งวิธีการของกลุ่มคนเหล่านี้ ก็พัฒนามาในหลากหลายรูปแบบเลยนะคะ และยังเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆอีกด้วยค่ะ ดังนั้นเรามาดูวิธีรับมือกับแก๊งคอลเซนเตอร์ไปด้วยกันนะคะ เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวเรา หรือคนที่เรารักต้องตกไปเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพแบบนี้ได้ค่ะ
วิธีการหลอกเหยื่อของมิจฉาชีพ แก๊งคอลเซนเตอร์ (Call Center Gang)
โดยทั่วไปแล้ว แก๊งคอลเซนเตอร์จะมาในรูปแบบของการโทร หรือส่งข้อความ SMS เข้ามาที่โทรศัพท์มือถือของเรานะคะ เพื่อหลอกเอาข้อมูลส่วนตัว หรือหลอกให้โอนเงิน โดยวิธีพื้นฐานที่ใช้กันในช่วงแรก ๆ ก็คือการหลอกว่าเราถูกรางวัลพิเศษ เพื่อต้องการให้เราไปทำธุรกรรมบางอย่างให้ และต่อมากลุ่มแก๊งเหล่านี้ ก็มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปเรื่อย ๆ โดยในปัจจุบัน คนกลุ่มนี้มักจะโทรเข้ามาในฐานะพนักงานไปรษณีย์ หน่วยงานราชการ หรือพนักงานธนาคาร แล้วแจ้งว่าเรามีพัสดุตกค้าง มีใบสั่งต้องไปจ่าย หรือบัตรเครดิตมีปัญหา เป็นต้นค่ะ
นอกจากนี้แล้ว แก๊งคอลเซนเตอร์บางกลุ่ม อาจใช้วิธีปลอมตัวเป็นเพื่อนหรือญาติของเรา แล้วสร้างเรื่องราวขึ้นมาเพิ่มเติมว่าเขากำลังเดือดร้อน และต้องการเงินในการใช้จ่าย เพื่อโน้มน้าวใจให้เราโอนเงินให้เขาได้ง่ายขึ้นนั่นเองค่ะ บางรายก็โดนหลอกว่ามีชื่อเข้าไปพัวพันในเรื่องที่ผิดกฎหมาย ทำให้เหยื่อตกใจกลัว เพราะพวกแก๊งคอลเซ็นเตอร์แกล้งปลอมตัวเป็นเจ้าที่ตำรวจยศสูงๆด้วยก็มีนะคะ มีข้อมูลส่วนบุคคลของเหยื่อทุกอย่าง ทำให้เหยื่อหลงเชื่อและถูกหลอกได้ค่ะ และยังมีกลโกงอีกหลายรูปแบบ มาดูกันต่อเลยค่ะ
- หลอกคืนเงินภาษีผ่านตู้ ATM
มิจฉาชีพอ้างตนเป็นเจ้าหน้าที่สรรพากรติดต่อเหยื่อเพื่อแจ้งข้อมูลการขอคืนภาษี
และให้เหยื่อยืนยันสิทธิ์การขอคืนภาษีผ่านตู้ ATM โดยมิจฉาชีพจะบอกขั้นตอน
อย่างรวดเร็ว และให้ใช้เมนูภาษาอังกฤษในการโอนเงินไปยังหมายเลขบัญชีของมิจฉาชีพ
- หลอกว่าข้อมูลส่วนตัวของท่านสูญหาย
มิจฉาชีพอ้างตนเป็นเจ้าหน้าที่สถาบันการเงิน ติดต่อเหยื่อเพื่อขอสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล หลังจากนั้นมิจฉาชีพจะใช้ข้อมูลที่ได้มาปลอมตัวเป็นลูกค้าและทำธุรกรรมทางการเงิน
- หลอกว่าติดหนี้บัตรเครดิต
มิจฉาชีพอ้างตัวเป็นธนาคาร โทรบอกเหยื่อว่ายังไม่ได้ชำระหนี้บัตรเครดิตและระบบจะตัดเงินจากบัญชีเงินฝากที่เหยื่อมีอยู่เพื่อชำระหนี้โดยอัตโนมัติ เมื่อเหยื่อเกิดความกลัวก็จะให้ไปที่ตู้ ATM เพื่อรีบระงับบัญชี โดยให้กดตามที่มิจฉาชีพบอกทางโทรศัพท์ ซึ่งเป็นวิธีการโอนเงินไปยังมิจฉาชีพ
- หลอกว่าบัญชีของเหยื่อพัวพันกับคดียาเสพติด หรือคดีฟอกเงิน
มิจฉาชีพโทรศัพท์หลอกถามจำนวนเงินในบัญชี แล้วแจ้งว่าเงินของเหยื่อพัวพัน
กับคดียาเสพติด หรือการฟอกเงิน แล้วโอนสายเหยื่อให้กับตำรวจปลอม เพื่อหลอกว่า
จะช่วยตรวจสอบและให้เหยื่อโอนเงินมาที่มิจฉาชีพ
อีกเรื่องหนึ่งสำคัญที่เราต้องจำไว้ให้ขึ้นใจในการรับมือกับแก๊งคอลเซนเตอร์เลยก็คือ*** หน่วยงานราชการและสถาบันการเงินไม่มีนโยบายขอหรือตรวจสอบข้อมูลส่วนบุคคลผ่านโทรศัพท์อย่างแน่นอน ***นะคะ ดังนั้นหากมีสายที่อ้างตัวว่าเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ หรือพนักงานธนาคารโทรมาถามข้อ เรามาดูวิธีป้องกันตัวจากพวกแก๊งคอลเซ็นเตอร์เหล่านี้กันนะคะ
วิธีป้องกันตัวจาก แก๊งคอลเซนเตอร์ (Call Center Gang)
เราไม่มีทางรู้เลยนะคะ ว่าแก๊งคอลเซนเตอร์พวกนี้ จะโทรเข้ามาหาเราเมื่อไหร่ ดังนั้นเราจึงควรต้องมีสติและเตรียมตัวให้พร้อมรับมืออยู่เสมอเลยนะคะ โดยสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้แนะวิธีรับมือแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ไว้ดังต่อไปนี้ค่ะ
- สังเกตเบอร์ที่โทรเข้ามาก่อนรับสาย หากเป็นเบอร์ที่ไม่รู้จัก หรือเป็นเบอร์ที่มีเครื่องหมาย + นำหน้าให้สงสัยไว้ก่อนว่าอาจจะเป็นกลุ่มคอลเซนเตอร์ที่โทรเข้ามา
- ตั้งสติเมื่อรับสาย เพราะการมีสติจะช่วยให้เราแยกแยะบุคคลในสาย หรือคำถามที่ปลายสายถามได้ดีขึ้น โดยเราสามารถสังเกตความผิดปกติของปลายสายได้จากคำถาม เช่น การถามชื่อ และข้อมูลส่วนตัวโดยตรง หรือการใช้ข้อความอัตโนมัติในการตอบรับ แล้วให้เรากดเบอร์เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่ เป็นต้น
- วางสายทันที หากมั่นใจแล้วว่าปลายสายเป็นแก๊งคอลเซนเตอร์หรือมิจฉาชีพ
- แจ้งเบาะแส กับหน่วยงานที่ดูแล เช่น ตำรวจ ธนาคาร ค่ายมือถือ หรือ กสทช.
- เตือนภัยคนใกล้ชิด เล่าเรื่องกลโกงที่พบเจอให้คนใกล้ชิด ที่มีแนวโน้มจะถูกหลอกได้ง่าย เช่น เพื่อน หรือ ผู้สูงอายุในครอบครัว
ทักษะรับมือกับแก๊งคอลเซนเตอร์
นอกจากวิธีป้องกันตัวตามคำแนะนำด้านบนแล้วนะคะ ก็ยังมีทักษะการรับมืออื่น ๆ ที่ควรมีค่ะ ไม่ว่าจะเป็น
- ทักษะการสังเกต เช่น เมื่อเราได้รับข้อความใด ๆ ก็ตามให้สังเกตว่าข้อความนั้น มาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือหรือไม่ หากข้อความนั้นไม่ได้มาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือหรือมีอยู่จริง
- ทักษะต่อไปที่ควรมี ก็คือทักษะการปฏิเสธ ไม่ว่าจะเป็นปฎิเสธการคลิกลิงก์ที่ส่งมาใน SMS, ปฎิเสธที่จะบอกข้อมูลส่วนตัว, ปฎิเสธที่จะทำธุรกรรมการเงินผ่านตู้ ATM และปฎิเสธที่จะต่อบทสนทนาค่ะ
มูลส่วนตัวให้รีบวางสายโดยทันทีเลยค่ะ ไม่เช่นนั้นอาจถูกชักจูงให้หลงเชื่อและตกเป็นเหยื่อของพวกมิจฉาชีพเหล่านี้ได้ค่ะ
สายด่วน แจ้งเบอร์โทรศัพท์ของแก๊งคอลเซ็นเตอร์
หากมีสายเรียกเข้าที่มีความเป็นไปได้และมีแนวโน้มเกี่ยวข้องกับแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ก็สามารถแจ้งไปที่สายด่วนของหน่วยงานภาครัฐหรือเจ้าของเครือข่ายโทรศัพท์ต่อไปนี้ เพื่อดำเนินการใน ขั้นตอนต่อไปได้ค่ะ
- กสทช. โทร.1200
- ตำรวจ PCT โทร.1441
- NT โทร.1888
- True โทร.9777
- AIS โทร.1185
- DTAC โทร.1678
วิธีแก้ปัญหาเมื่อถูกหลอกโดย แก๊งคอลเซนเตอร์ (Call Center Gang)
- รวบรวมหลักฐาน และข้อมูลสำคัญทุกอย่างที่เกี่ยวข้องไว้
- แจ้งความ ลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน ณ ท้องที่เกิดเหตุเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการระงับการโอนเงิน
- แจ้งระงับ การโอนเงินกับสถาบันการเงินเพื่อขอความช่วยเหลือ และแก้ไขเบื้องต้น
- แจ้งเบาะแส ไปยังสำนักงาน ตำรวจแห่งชาติ (โทร 1599)
ปัจจุบันนี้ เมืองไทยของเรายังไม่สามารถจัดการกับแก๊งคอลเซนเตอร์เหล่านี้ได้ทั้งหมด เพราะฉะนั้นแล้ว สิ่งที่ประชาชนอย่างเราทำได้ ก็คือการระมัดระวังตัวเอง การป้องกันตัวเองเบื้องต้น คือไม่รับสายจากเบอร์แปลกหน้า และรู้จักสังเกตวิเคราะห์คู่สนทนาให้รวดเร็ว และที่สำคัญที่สุด คือ การมีสติทุกครั้ง อย่าตื่นตกใจ หรือกลัวอะไรที่เราไม่ได้ทำเกินเหตุนะคะ เพราะจะเป็นช่องทางและจุดอ่อนให้โดนหลอกและตกเป็นเหยื่อได้ เพียงเท่านี้เราก็สามารถป้องกันตัวเองและคนรอบข้างจากแก๊งคอลเซนเตอร์ได้แล้วค่ะ