แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - Jenny937

หน้า: 1 ... 207 208 [209]
3121


จากการที่รัฐบาลได้มีนโยบายผลักดัน “สมาร์ทซิตี้ [pr]” หรือ เมืองอัจฉริยะ โดยกำหนดพื้นที่นำร่อง 14 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งรวมถึงพื้นที่เศรษฐกิจ ต.กะรน จ.ภูเก็ต จะเป็นต้นแบบจังหวัดอัจฉริยะที่ยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างโมเดลธุรกิจ

ภายใต้การร่วมมือ คิดและออกแบบขององค์กรในท้องถิ่นและเอกชน ผ่านโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลและการสื่อสารโทรคมนาคมเสาอัจฉริยะ เปลี่ยนจากเสาไฟธรรมดาเป็นเสาอัจฉริยะ

ดึงสมาร์ทโพลลงอันดามัน

เรือเอกเจด็จ วิชรศรณ์ นายกเทศมนตรีตำบลกะรน จังหวัดภูเก็ต กล่าวระหว่างการเสวนาเรื่อง “การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน Lucky Pole เพื่อการเชื่อมโยงและพัฒนาเศรษฐกิจการท่องเที่ยวสู่เมืองสมาร์ทซิตี้” ว่า เทศบาลตำบลกะรนเตรียมการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจ โดยการบูรณาการข้อมูลและเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ากับโครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนบริการต่างๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อแก้ไขปัญหาส่วนรวม รวมทั้งสร้างสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ยิ่งขึ้นและอย่างยั่งยืน ขณะเดียวกันมุ่งหวังผลก่อให้เกิดผลผลิตมากขึ้น

“เรามองเรื่องการพัฒนาเมืองตำบลกะรน ให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ ด้วยความเป็นอยู่ที่ดี และเศรษฐกิจของเมืองซึ่งอิงกับการท่องเที่ยวเป็นหลัก ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เช่น การท่องเที่ยว รถให้บริการสาธารณะ อาหารทะเล ตลอดจนทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดี เมืองมีภูมิทัศน์ที่สวยงามขึ้น จึงได้มีแนวคิดที่จะยกระดับตำบลกะรน ให้เป็นต้นแบบของสมาร์ทซิตี้ ด้วยการดำเนินการต่างๆ อาทิ การวางโครงสร้างพื้นฐานสื่อสารโทรคมนาคม เสาอัจฉริยะ การจัดระเบียบสายไฟฟ้า และสายสื่อสารลงดิน การติดตั้งระบบกล้องวงจรปิดอัจฉริยะ อุปกรณ์และเทคโนโลยไอโอที (IoT) เพื่อให้มีการจัดการแบบรวมศูนย์ และผลักดันให้พื้นที่ตำบลกะรนสู่เมืองอัจฉริยะ”

3122


กรมควบคุมโรค แนะธนาคารทั่วประเทศ [pr] ยึดหลักปฏิบัติ 6 ประการเพื่อป้องกันโควิด-19 ทั้งพนักงานและกลุ่มลูกค้าที่มีหลากหลาย เช่น ผู้สูงอายุ ชาวต่างชาติ และมีแหล่งที่อาจสะสมเชื้อโรค เช่น ธนบัตร เหรียญ ควรมีฉากใสกั้นที่เคาน์เตอร์บริการ เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงการสัมผัสเชื้อไวรัสโควิด-19 ในระยะประชิด ระบุหากธนาคารสามารถเพิ่มระบบให้ลูกค้าจองคิวเบิก-ถอนล่วงหน้าจะเป็นการดีมาก เพื่อช่วยลดความแออัดในสถานที่

วันนี้ (24 ส.ค.) นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า ธนาคารเป็นสถานที่ที่มีความจำเป็นในการทำธุรกรรมทางการเงินของประชาชน แม้ว่าขณะนี้ส่วนใหญ่จะเปิดให้บริการผ่านช่องทางออนไลน์หรืออี-แบงค์กิง (E-banking) แล้วก็ตาม แต่ยังมีลูกค้าบางส่วนเดินทางเข้าไปรับบริการที่สำนักงานสาขา ซึ่งกลุ่มลูกค้ามีหลากหลาย เช่น ผู้สูงอายุ คนวัยทำงาน ชาวต่างชาติ รวมทั้งฝ่ายของผู้ปฏิบัติงาน เช่น พนักงานธนาคาร เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยและยังมีแหล่งที่อาจสะสมเชื้อไวรัสโควิด 19 เช่น ธนบัตร เหรียญต่างๆ อาจเป็นตัวกลางทั้งการรับเชื้อและการแพร่เชื้อโควิด 19 ในขณะเดียวกันได้ จากการเก็บข้อมูลของกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรคตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายน 2564 จนถึงปัจจุบัน พบว่าสาเหตุการติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ส่วนหนึ่งมาจากการสัมผัส โดยเฉพาะการใช้สิ่งของร่วมกัน

“ธนาคาร จัดเป็นสถานที่ประเภทพื้นที่ปิดและมีเครื่องปรับอากาศ การสร้างความปลอดภัยทั้งลูกค้าและพนักงานของธนาคารทุกแห่งทั้งที่อยู่ในพื้นที่ระบาดควบคุมเข้มงวดสูงสุด 29 จังหวัด และจังหวัดอื่นๆ หากสามารถเพิ่มระบบการลงทะเบียนเพื่อให้ลูกค้า จองคิวบริการเบิก-ถอนล่วงหน้า จะเป็นการดีมาก เนื่องจากสามารถจัดบริการลูกค้าในแต่ละช่วงเวลาอย่างเหมาะสม มีเวลาเหลื่อมกัน จะลดช่วงเวลาการสัมผัสระหว่างที่นั่งรอคิวร่วมกันได้มาก” นายแพทย์โอภาสกล่าว

อย่างไรก็ตาม มาตรการความปลอดภัยจากโรคโควิด 19 ของธนาคารทุกแห่ง ยังคงต้องเข้มงวดสูงสุดเช่นกัน โดยกรมควบคุมโรค มีข้อแนะนำให้ปฏิบัติ 6 ประการดังต่อไปนี้

1. ธนาคารควรจัดให้มีการคัดกรองอุณหภูมิเบื้องต้นของทั้งพนักงานและลูกค้า

2. ทำความสะอาดวัสดุ อุปกรณ์ พื้นที่ที่มีการสัมผัสร่วมอย่างสม่ำเสมอ เช่น เคาน์เตอร์ ที่นั่ง ที่กดบัตรคิว

3. กำหนดบริเวณสำหรับให้ลูกค้ากดบัตรคิวและรอคิว จำกัดจำนวนลูกค้าที่มาใช้บริการในสำนักงานแต่ละครั้ง เพื่อไม่ให้แออัดจนเกินไป

4. จัดแถวที่รอคอยเพื่อไม่ให้ลูกค้ายืนหรือนั่งชิดกันเกินไป โดยเว้นระยะห่างอย่างน้อย 1-2 เมตร และควรมีฉากใสกั้นระหว่างลูกค้าและพนักงานธนาคารที่เคาน์เตอร์บริการทุกจุด เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงการสัมผัสละอองฝอยน้ำลายที่มาจากการพูด หรือจากการหายใจทั้ง 2 ฝ่าย ในระดับประชิดคือไม่เกิน 2 เมตร

5. เจ้าหน้าที่ธนาคารทุกคน ทั้งพนักงานธนาคาร เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ต้องสวมหน้ากากอนามัย 100% ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์หรือสเปรย์แอลกอฮอล์ 70% ก่อนและหลังให้บริการลูกค้า ธนาคารมีระบบการรายงานติดตามสุขภาพของพนักงานทุกวัน หากพบว่ามีพนักงานธนาคารยืนยันติดเชื้อหรือมีข้อมูลบ่งชี้ว่าสถานที่ธนาคารเป็นจุดแพร่เชื้อ ขอให้ผู้จัดการธนาคาร ดำเนินการตามคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคภายใน 24 ชั่วโมง ภายใต้การกำกับดูแลของพนักงานควบคุมโรคติดต่อ

6. ในส่วนประชาชนที่เข้าไปใช้บริการ ขอให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการติดเชื้ออย่างสูงสุด คือ สวมหน้ากากอนามัย 100% และล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ สเปรย์แอลกอฮอล์ 70% ก่อนและหลังใช้บริการ การเว้นระยะห่างกับผู้อื่นระหว่างนั่งรอคิวอย่างน้อย 1-2 เมตร

ทั้งนี้ ในสถานการณ์แพร่ระบาดโรคโควิดขณะนี้ แนะนำให้ประชาชนเตรียมปากกาของตนเองไปให้พร้อมในการทำธุรกรรมการเงิน เพื่อลดการสัมผัสกับปากกาส่วนกลางที่ใช้ร่วมกับคนอื่น พร้อมทั้งขอความร่วมมืองดสัมผัสอุปกรณ์ต่างๆ ภายในธนาคาร เพื่อลดการปนเปื้อนและการแพ่รกระจายเชื้อโรค เนื่องจากขณะนี้พบว่าผู้ติดเชื้อโควิด 19 บางรายไม่แสดงอาการผิดปกติ แต่แพร่เชื้อสู่คนรอบข้างที่ใกล้ชิดได้ตลอดเวลา นายแพทย์โอภาสกล่าว

3123


นางสาวจรีพร จารุกรสกุล ประธานคณะกรรมการบริษัท และประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)  หรือ WHA เปิดเผยว่า บริษัทคาดว่าผลประกอบการปีนี้ดีกว่าปีที่แล้ว ทั้งธุรกิจคลังสินค้าและพื้นที่ให้เช่าของบริษัท [pr] มีแนวโน้มผลประกอบการเป็นไปในทิศทางที่ดี โดยเฉพาะสัญญาระยะสั้นที่เพิ่มขึ้นมาก ด้านธุรกิจไฟฟ้าและสาธารณูปโภค ธุรกิจน้ำยังคงมีทิศทางการเติบโตจากดีมานด์ที่เพิ่มขึ้น ทั้งในไทยและเวียดนามยังดีกว่าปีก่อน

โดยบริษัทยังคงเป้าหมายยอดขายที่ดินในปีนี้ไว้ที่ 1,030 ไร่  แบ่งเป็นในประเทศไทย 725 ไร่ และในประเทศเวียดนาม 305 ไร่  สำหรับพื้นที่ในประเทศไทย  725 ไร่ แบ่งเป็นยอดขายในนิคมฯ 600 ไร่ นอกนิคมฯ 125 ไร่ มั่นใจว่ามีโอกาสทำได้ดีกว่าเป้า เนื่องจากยังคงเห็นความต้องการจากยุโรป, ไต้หวัน, จีน ,ญี่ปุ่น และอินเดีย จากกระแสการย้ายฐานการผลิตอย่างต่อเนื่องจนมาถึงสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 ยิ่งทำให้นักลงทุนต่างชาติมองหาฐานการลงทุนแห่งใหม่เพื่อกระจายความเสี่ยง จากเดิมที่กระจุกตัวอยู่ที่ประเทศใดประเทศหนึ่งอย่างเดียว ซึ่งทั้งไทยและเวียดนามได้ประโยชน์ 

ประกันโควิด เจอ จ่าย จบ! รับเลย 100,000 บาท

จากครึ่งปีแรก 2564 มียอดรอเซ็นสัญญาซื้อขายLOI อยู่ที่ 83 ไร่ และมียอดขายที่ดินรอโอน( Backlog ) อยู่ที่ 400 ไร่ ซึ่งในปัจจุบันอยู่ระหว่างการเจรจากับลูกค้าหลายราย มองว่า ในครึ่งปีหลังยอดขายที่ดินจะเริ่มกลับมา จากโรคระบาดโควิด-19 ที่เริ่มคลี่คลาย แม้โควิดจะกระทบข้อจำกัดการเดินทาง แต่การลงทุนจริงยังดีต่อเนื่องและมีการพัฒนาระบบออนไลน์มาช่วยสนับสนุนยอดขายที่ดินด้วย 

สำหรับยอดขายที่ดินในเวียดนาม 305 ไร่ คาดว่าอาจต่ำกว่าเป้า เพราะ  มีล็อกดาวน์ แต่ดีมานด์ยังดีอยู่ ไม่กระทบยอดขายแต่จะกระทบยอดโอนที่อาจจะต้องเลื่อนไปปี 2565

 “ยอดขายที่ดินครึ่งปีหลังนี้ยังดีกว่าครึ่งปีแรกที่ผ่านมานี้ จากเจรจาขายที่ดินต่อเนื่อง  ในส่วนของยอดโอนอาจกระทบบ้างปีนี้  แต่จะทำให้แบ็คล็อคไปโอนในต้นปีหน้า” 

นางสาวจริพร กล่าวว่า  ทางด้านธุรกิจให้เช่าพื้นที่ยังเติบโตดีต่อเนื่อง ซึ่งยังคงเป้าหมายให้เช่าพื้นที่ในปีนี้ที่ 175,000 ตารางเมตร ในครึ่งปีแรก 2564 ให้เช่าพื้นที่แล้ว 40-50% ขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจาลูกค้ารายใหญ่ เช่าคลังสินค้าเพิ่มอีก 55,000-60,000 ตารางเมตร คาดหวังว่าจะปิดดีลให้สำเร็จในปีนี้ รวมทั้งการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ในการขนส่ง ก็มีส่วนทำให้ความต้องการเช่าระยะสั้นสูงขึ้นอย่างมาก

นอกจากนี้ บริษัทอยู่ระหว่างพิจารณาเข้าลงทุนในสตาร์ทอัพอีก 2 บริษัท คาดใช้เงินลงทุนราว 200 ล้านบาท เบื้องต้นจะสรุปได้ปีนี้หรือปีหน้า

3124


นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ครม.เมื่อ 17 ส.ค. 2564 ได้รับทราบข้อมูลความก้าวหน้าของมาตรการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพของไทย [pr] ปี 2561-2570 โดยกระทรวงอุตสาหกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) ซึ่งเป็นหนึ่งในโมเดลเศรษฐกิจใหม่ หรือ BCG Model (Bio, Circula, Green Economy) ซึ่งพบว่าภาคเอกชนยังคงเดินหน้าขับเคลื่อนการลงทุนให้เกิดขึ้นเป็นไปตามแผนแม้ว่าจะเผชิญกับการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 โดยคาดว่าจะมีการลงทุนเบื้องต้นกว่า 149,000 ล้านบาทซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจไทย เพิ่มมูลค่าให้สินค้าเกษตร สร้างงานและรายได้ให้คนในพื้นที่ และนำไทยไปสู่การเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมชีวภาพในอาเซียน Bio Hub of ASEAN ภายในปี 2570

สำหรับโครงการที่สำคัญประกอบด้วย โครงการนครสวรรค์ไบโอคอมเพล็กซ์ของบริษัท จีจีซี เคทิส ไบโออินดัสเทรียล จำกัด (GKBI) ที่ล่าสุดได้ร่วมลงทุนกับบริษัท เนเชอร์เวิร์คส์ เอเชียแปซิฟิก จำกัด (NatureWorks) จากสหรัฐอเมริกา เพื่อผลิตพอลิเมอร์ชีวภาพชนิดโพลีแลคติก แอซิด (PLA) กำลังการผลิตถึงประมาณ 75,000 ตันต่อปี โดยโครงการฯ ระยะที่ 2 มีมูลค่าลงทุน 21,430 ล้านบาท ซึ่งส่วนหนึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากรัฐบาลไทยแล้ว คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในช่วงต้นปี 2565 และสามารถผลิตเชิงพาณิชย์ภายในปี 2567

นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายโครงการที่อยู่ระหว่างการขับเคลื่อนให้เกิดการลงทุนของภาคเอกชน เช่น โครงการไบโอ ฮับ เอเซีย ของบริษัท อิมเพรส กรีน เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ที่ฉะเชิงเทรา มูลค่าลงทุน 57,600 ล้านบาท ซึ่งมีนักลงทุนหลายรายจากต่างประเทศที่สนใจร่วมลงทุนในโครงการ เช่น เนเธอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา แคนาดา เยอรมนี สหราชอาณาจักร จีน ฝรั่งเศส และมีแผนลงทุนเพิ่มเติมในส่วนของโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์จากกัญชาเกรดทางการแพทย์ (Medical grade)

โครงการลพบุรีไบโอคอมเพล็กซ์ ของบริษัท อุตสาหกรรมน้ำตาลชาวไร่ จำกัด ที่จังหวัดลพบุรี มูลค่าลงทุน 32,000 ล้านบาท อยู่ระหว่างออกแบบโครงการและเจรจากับนักลงทุนที่สนใจ รวมถึงจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการนิคมอุตสาหกรรม Bioeconomy ของบริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด ที่จังหวัดขอนแก่น มูลค่าลงทุน 29,705 ล้านบาท อยู่ระหว่างศึกษาผลกระทบทางด้านพันธุ์สัตว์ในพื้นที่รอบโครงการ และศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มสูง เช่น น้ำตาลแคลอรีต่ำ เบกกิ้งยีสต์ (Baking yeast) จากกากน้ำตาล โครงการนิคมอุตสาหกรรมอุบลราชธานี ของบริษัท อุบลราชธานี อินดัสตรี้ จำกัด มูลค่าลงทุน 8,400 ล้านบาท อยู่ระหว่างจัดทำรายงาน EIA และพิจารณาแก้ไขผังเมืองรวมจังหวัดอุบลราชธานี โดยโครงการฯ ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นพร้อมสร้างการรับรู้กับชุมชนที่อยู่โดยรอบโครงการแล้ว

นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า ที่ผ่านมารัฐได้มีการออกระเบียบต่างๆ ที่เอื้อต่อการลงทุน รวมถึงการส่งเสริมความต้องการผลิตภัณฑ์ในประเทศเพิ่มขึ้นโดยการออกใบรับรองผลิตภัณฑ์พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพที่ผ่านหลักเกณฑ์แก่ผู้ผลิต (Converter) เพื่อให้ผู้ซื้อคนแรกที่ซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวตามประเภทที่กรมสรรพากรกำหนดนำไปเป็นหลักฐานประกอบการยื่นขอลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นจำนวน 1.25 เท่าของค่าใช้จ่ายที่ซื้อผลิตภัณฑ์พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ในช่วงปี 2562-กรกฎาคม 2564 ซึ่ง สศอ.ได้ออกใบรับรองแล้วทั้งสิ้น 48 ผลิตภัณฑ์ จากผู้ผลิตรวม 4 ราย

“ขณะนี้ สศอ. และกระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการพิจารณาขยายระยะเวลามาตรการกระตุ้นการใช้พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ (Green Tax Expense) ออกไปอีกระยะหนึ่ง ซึ่งมาตรการดังกล่าวจะช่วยสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ประกอบการว่ามีตลาดรองรับเพียงพออย่างแน่นอน และจูงใจให้ห้างร้านต่างๆ เปลี่ยนมาใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพทดแทนปีละไม่ต่ำกว่า 10% ของปริมาณการบริโภคผลิตภัณฑ์พลาสติกชนิดสิ้นเปลืองทั้งหมด” นายทองชัยกล่าว

หน้า: 1 ... 207 208 [209]