ผู้เขียน หัวข้อ: ITA คืออะไร  (อ่าน 23 ครั้ง)

วันเสาร์ 20 มกราคม 2566

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 274985
  • รับทำ SEO No.1 SEONo1.co.th
    • ดูรายละเอียด
ITA คืออะไร
« เมื่อ: 18 2021-12-18 2021 12:%i:1639804565 »
ITA คืออะไร 
การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการ ดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า การประเมิน ITA (Integrity and Transparency Assessment) เป็นเครื่องมือที่ถูกพัฒนาขึ้นจากการบูรณาการเครื่องมือ การประเมินองค์กรภาครัฐของประเทศไทยกับประเทศ เกาหลีใต้เข้าด้วยกัน และเริ่มดำเนินการประเมินมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2557 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน การประเมิน ITA เป็นเครื่องมือในเชิงบวก ช่วยพัฒนา ระบบราชการไทยในเชิงสร้างสรรค์มากกว่าการมุ่งจับผิด มีวัตถุประสงค์ให้หน่วยงานภาครัฐทั่วประเทศได้รับทราบ ถึงสถานะและปัญหาการดำเนินงานด้านคุณธรรมและความ โปร่งใสในการดำเนินงานขององค์กร ผลการประเมินที่ได้ เปรียบเสมือนผลการตรวจสุขภาพองค์กรประจำปี ซึ่งจะ ช่วยให้หน่วยงานภาครัฐสามารถนำไปใช้ในการปรับปรุง พัฒนาองค์กรในปีงบประมาณถัดไปให้มีประสิทธิภาพใน การให้บริการ สามารถอำนวยความสะดวกให้ประชาชน ดียิ่งขึ้น ขณะเดียวกันการประเมิน ITA ยังเป็นเครื่องมือในการ ขับเคลื่อนนโยบายภาครัฐและการปฏิบัติงานตามกฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง เช่น มาตรฐานในด้านการให้บริการ ธรรมาภิบาล ความโปร่งใส ทั้งนี้ก็เพราะเครื่องมือการประเมิน ITA ได้ถูก ออกแบบและพัฒนาขึ้นมาจากมาตรฐานการดำเนินงาน ด้านต่างๆ ดังนั้น เครื่องมือนี้จึงไม่ได้เป็นเพียงแค่การ ขับเคลื่อนงานป้องกันการทุจริต แต่เป็นเครื่องมือในการ ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ นโยบายรัฐบาล และการปฏิบัติงาน ตามหลักธรรมาภิบาลในภาพรวมของระบบราชการไทย
ITA สำคัญอย่างไร ทำไมต้องทำ ? 
การประเมิน ITA ไม่ใช่เรื่องใหม่ในระบบราชการไทย และไม่ใช่สิ่งที่เพิ่งมีการคิดค้นขึ้น ความจริงแล้วหลักเกณฑ์ การประเมิน ITA ถูกกำหนดขึ้นจากสิ่งที่หน่วยงานภาครัฐ ต้องปฏิบัติตามระเบียบกฎหมาย ยุทธศาสตร์ นโยบาย และ มาตรฐานกลางในการดำเนินงานด้านต่างๆ ที่ถูกกำหนดขึ้น ไว้แล้ว มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ถูกกำหนดขึ้นจากแนว ปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) เพื่อส่งเสริมให้หน่วยงาน ภาครัฐมีการพัฒนาคุณธรรมและความโปร่งใสที่ดียิ่งขึ้น ดังนั้นสิ่งที่หน่วยงานภาครัฐต้องปฏิบัติตามกรอบการประเมิน ITA จึงเป็นสิ่งที่ทุกหน่วยงานจะต้องทำตามที่ระเบียบ กฎหมาย ยุทธศาสตร์ นโยบาย และมาตรฐานกลางได้ระบุ ไว้อยู่แล้ว ไม่ใช่สิ่งที่ต้องทำขึ้นมาใหม่ เพียงแต่เครื่องมือการประเมินนี้ถูกออกแบบมาใช้ในการติดตามและประเมินผล ว่าได้มีการปฏิบัติหรือไม่ และทำได้ดีเพียงใด 
ในแง่นี้จึงกล่าวได้ว่า การประเมิน ITA เป็นเครื่องมือ ระดับชาติในการบริหารจัดการภาครัฐด้านธรรมาภิบาลที่ มีความเป็นองค์รวม (Holistic and Comprehensive) และ ครอบคลุมหน่วยงานภาครัฐมากที่สุดเท่าที่มีการดำเนินงาน อยู่ในปัจจุบัน 
ITA ทำแล้วได้อะไร ? 
เมื่อประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐร่วมมือกันทำการ ประเมิน ITA แล้ว ผู้ที่จะได้รับประโยชน์จากการประเมิน ITA หากกล่าวในภาพรวม แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่คือ ประชาชน เจ้าหน้าที่ของรัฐ และประเทศไทยของเรา 
สำหรับประชาชน : การประเมิน ITA เป็นเครื่องมือที่ สานต่อการปฏิรูประบบราชการไทย โดยรับเอาแนวคิดการ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมมาปรับใช้ในการพัฒนากระบวนการ และเครื่องมือการประเมินอย่างเต็มรูปแบบ ด้วยการเปิดให้ ประชาชนทั่วประเทศได้เข้ามามีส่วนร่วมในการประเมิน หน่วยงานภาครัฐที่เคยติดต่อหรือรับบริการ รวมถึงให้ ข้อเสนอแนะที่จะนำไปสู่การพัฒนากระบวนการดำเนินงาน ให้ตอบโจทย์ตรงใจประชาชนมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ผลสะท้อน ผ่านการประเมินของประชาชนจะนำไปสู่การพัฒนาการให้ บริการสาธารณะที่ตอบโจทย์ตรงใจประชาชนมากยิ่งขึ้น ใน อีกด้านหนึ่ง ผลการประเมิน ITA ยังเป็นเครื่องมือของภาค ประชาสังคมในการติดตามเฝ้าระวังการบริหารจัดการ ทรัพยากรและการปกป้องผลประโยชน์สาธารณะด้วย
สำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ : การประเมิน ITA ช่วยให้ เจ้าหน้าที่ของรัฐได้รับรู้รับทราบความต้องการและความ รู้สึกของประชาชนผู้มาติดต่อหรือรับบริการ เพื่อนำไปใช้ ในการพัฒนางานหรือการให้บริการให้ดียิ่งขึ้น ขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่ของรัฐก็สามารถที่จะสะท้อน การบริหารงานภายในองค์กรของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นในด้านการบริหารงาน เงิน และคน เพื่อให้ผู้บริหารของหน่วยงาน และรัฐบาลนำผลการประเมินและข้อคิดเห็นที่ได้จาก ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐทั่วประเทศไปใช้ในการ ปรับปรุงพัฒนาการบริหารจัดการองค์กรและการดูแล พัฒนาบุคลากรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
สำหรับประเทศไทย : การประเมิน ITA ได้กำหนด มาตรฐานการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ทุกฝ่ายให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ หน่วยงาน ภาครัฐทุกแห่งไม่ว่าจะอยู่ในฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ องค์กรอิสระ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทุกรูปแบบ ล้วนถูกขับเคลื่อนการดำเนินงานในด้านคุณธรรม ความโปร่งใส และติดตามประเมินผลด้วยมาตรฐาน เดียวกันทั้งประเทศ เพราะฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า การประเมิน ITA คือมาตรฐานการบริหารจัดการภาครัฐของประเทศไทย (Thailand’s Governance Standard) ที่สามารถสะท้อนไป ยังนานาชาติ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการบริหารจัดการที่ มีคุณธรรมและความโปร่งใส และเพื่อให้การดำเนินงานของ หน่วยงานภาครัฐทุกพื้นที่ทั่วประเทศไทย เป็นไปอย่าง สอดคล้องกับมาตรฐานความโปร่งใสของนานาชาติ
ITA จะส่งผลต่ออนาคตของประเทศไทยอย่างไร? 
การประเมิน ITA ได้ถูกกำหนดไว้ในแผนแม่บทภายใต้ ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี ประเด็นการต่อต้านการทุจริต และประพฤติมิชอบ (พ.ศ. 2561–2580) ซึ่งมีผลผูกพัน ให้หน่วยงานภาครัฐทุกแห่งจะต้องเข้าร่วมการประเมิน ITA ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 ไปจนถึงปี พ.ศ. 2580 โดยยุทธศาสตร์ชาติ ได้กำหนดเป้าหมายในระยะแรกไว้ว่า ภายในปี พ.ศ. 2565 หน่วยงานภาครัฐจะต้องมีผลการประเมิน ITA ผ่านเกณฑ์ 85 คะแนนขึ้นไป ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ซึ่งปัจจุบันมีหน่วยงานภาครัฐที่มีผลการประเมินผ่านเกณฑ์ มีจำนวน 970 หน่วยงาน หรือคิดเป็นร้อยละ 11.69 เท่านั้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าในภาพรวมยังเป็นเรื่องที่ท้าทาย เป็นอย่างมากที่จะบรรลุผลสำเร็จของแผนแม่บทฯ ให้ได้ ในปี 2565 ดังนั้น การประเมิน ITA จึงมีความสำคัญกับการ ยกระดับความโปร่งใสของประเทศไทย ซึ่งสำนักงาน ป.ป.ช. ก็คาดว่า หากหน่วยงานภาครัฐได้มีผลการประเมิน ITA ที่ดีขึ้นแล้ว ก็จะสามารถสะท้อนไปถึงค่าคะแนน CPI ของประเทศไทยได้เช่นเดียวกัน