ผู้เขียน หัวข้อ: ศรัทธา หรือ ความเชื่อ นับเป็นจุดเริ่มต้นทางศาสนาทั้งปวง ซึ่งศรัทธาในทางศาสนานั้น  (อ่าน 7 ครั้ง)

วันเสาร์ 20 มกราคม 2566

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 275233
  • รับทำ SEO No.1 SEONo1.co.th
    • ดูรายละเอียด
ศาสนาคืออะไร? [pr] มูลเหตุที่ทำให้เกิดศาสนา [pr] มนุษย์ในสมัยดึกดำบรรพ์ได้ประสบกับปรากฏการณ์ธรรมชาติต่าง ๆ ซึ่งเป็นทั้งความน่ากลัว แปลกประหลาด และมหัศจรรย์สำหรับตัวมนุษย์ เช่น
ความมืด ความสว่าง ฟ้าแลบ ฟ้าผ่า แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด ไฟป่า อุทกภัย
และวาตภัย ฯลฯ แม้กระทั่งความสงสัยเกี่ยวกับตัวเราเอง “เราเป็นใคร
เกิดมาทำไม และเมื่อตายแล้วจะไปที่ไหน? “
มนุษย์นั้นไม่สามารถหาคำอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ เหล่านี้ได้
และด้วยความที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์เหล่านั้น
มนุษย์จึงเกรงกลัวปรากฏธรรมชาติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
จึงคิดว่าน่าจะมีอะไรบางอย่างที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์ต่างๆ เหล่านั้น
นั่นก็คือถือผีสางเทพเจ้า และเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ต่างๆ เหล่านั้น
มนุษย์จะต้องจงรักภักดี ด้วยการทำพิธีบูชาต่างๆ
ดังนั้น มนุษย์จึงแสวงหาสิ่งที่จะมาคุ้มครองป้องกันตนจากภัยอันตรายที่คิดว่าจะได้รับจากปรากฏการณ์ธรรมชาติ
รวมทั้งแสวงหาสิ่งซึ่งเชื่อว่าสามารถคุ้มครองให้อยู่อย่างเป็นสุข
ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดวัฒนธรรม
ตลอดจนประเพณียอมรับนับถือพลังลึกลับทางธรรมชาติว่าเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลเหนือมนุษย์
และได้สร้างขนบธรรมเนียมที่คิดว่าเป็นสิ่งจำเป็น
และควรประพฤติต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์เทพเจ้าที่ยอมรับนับถือ
จากความเชื่อของกลุ่มคน
และขนบธรรมเนียมประเพณีที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ถือผีสางเทพเจ้าเหล่านี้
จึงค่อย ๆ วิวัฒนาการเรื่อยมา จนกระทั่งกลายเป็นลัทธิ และศาสนาต่าง ๆ นั่น
เอง ศรัทธา หรือ ความเชื่อ นับเป็นจุดเริ่มต้นทางศาสนาทั้งปวง ซึ่งศรัทธาในทางศาสนานั้นมีอยู่ ๒ ประเภท ได้แก่ ความเชื่อที่ประกอบด้วย ปัญญา รู้เหตุ รู้ผล และ ความเชื่ออันเกิดจากความไม่รู้เหตุรู้ผล
การใช้ชีวิตโดยไม่มีศาสนาเป็นเช่นไร? [pr]
https://www.nirvanattain.com/บทความข่าวสาร/ทําไมเราต้องมีศาสนา.html [pr]หากเราดำเนินชีวิตโดยไม่มีศาสนา หรือ ไม่มีหลักความเชื่อใดๆ ประกอบด้วยเลย เราจะจัดการกับความไม่รู้ได้อย่างไร
ความไม่รู้คือความไม่เข้าใจในเหตุและผล ความไม่รู้ความเป็นจริงของสิ่งต่างๆ โดยถูกต้องแจ่มแจ้ง เช่น กฎแห่งกรรม [pr]
กฎแห่งกรรม คือ กฎที่แสดงให้เห็นถึงเหตุและผลของการกระทำใดๆ ของมนุษย์ กล่าวคือ
ใครกระทำกรรมอันใดไว้ ดีหรือชั่วก็ตาม
บุคคลผู้กระทำนั้นจักต้องเป็นผู้รับผลของกรรมนั้นๆ เสมอ
มิได้เกิดจากการดลบันดาลจากอำนาจของพระเจ้าองค์ใด
และไม่มีใครมารับผลของกรรมแทนบุคคลอื่นได้
หากเราไม่รู้ไม่เข้าใจเรื่องกฎแห่งกรรม หากเราไม่เชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม กฎแห่งกรรมจะไม่สามารถให้ผลกับเราได้อย่างนั้นจริงเหรอ?
กฎแห่งกรรม กฎแห่งการกระทำ เป็นกฎแห่งเหตุและผล เป็นกฎของธรรมชาติ ซึ่งมันเป็นอยู่
มีอยู่ ดำเนินไปอยู่ อย่างนั้นๆ ตลอดเวลาที่เรากระทำสิ่งใดๆ ทั้งทางด้านกาย
วาจา ใจ
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ผลของกรรมบางอย่างปรากฏในปัจจุบันทันตาเห็น บางอย่างเห็นผลตอนตายไปแล้ว
ไม่มีข้อยกเว้นให้กับใครๆ ไม่จำกัดเชื้อชาติ ภาษา ศาสนาใดก็ตามในโลก
เราอาจจะเคยฟังเรื่องเล่าต่างๆ มามากมายเกี่ยวกับเรื่องกรรม
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของคนอื่นหรือเราอาจจะเห็นมันกับตัวเราเองก็เป็นได้
หากเรารู้จักสังเกต เราไม่อาจจะปฏิเสธสิ่งเหล่านั้นว่าไม่มีอยู่จริง
บางครั้งเราอาจจะสงสัยและเคยได้ยินได้ฟังคำนี้มา “ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป” นั่นเป็นเพราะผลแห่งกรรมยังไม่ได้ให้ผลทันทีหรือในภพชาติ [pr]นั้นๆ