ธนาคารผิวหนัง (skin bank) “เนื้อเยื่อผิวหนังมนุษย์” ใช้รักษาผู้บาดเจ็บจากแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ลดความเจ็บปวด ลดอัตราการเสียชีวิต

ธนาคารผิวหนัง (skin bank) “เนื้อเยื่อผิวหนังมนุษย์” ใช้รักษาผู้บาดเจ็บจากแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ลดความเจ็บปวด ลดอัตราการเสียชีวิต

หลายคนคงยังไม่รู้นะคะ ว่าในประเทศไทยของเรานั้น มีธนาคารผิวหนัง หรือ คลังผิวหนัง (skin bank) สำหรับรักษาผู้ป่วยที่ถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก เพื่อลดความเจ็บปวดและเสียชีวิต ซึ่งมีประสิทธิภาพในการรักษาสูง และยังสามารถปลูกถ่ายผิวหนังข้ามกรุ๊ปเลือดได้อีกด้วยค่ะ

ธนาคารผิวหนังนั้นมีความสำคัญและเป็นประโยชน์อย่างมากเลยนะคะ สำหรับผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากไฟไหม้ หรือน้ำร้อนลวกที่มีอาการสาหัส บางคนอาจมองว่าเป็นเรื่องที่ไกลตัว แต่สำหรับผู้ที่โชคร้าย โดยเฉพาะอุบัติเหตุถูกไฟไหม้ หรือน้ำร้อนลวกรุนแรงในสภาพที่ไม่มีผิวหนังปกคลุมแล้วนั้น หากไม่มี Skin Bank ก็อาจไม่สามารถรอดชีวิตได้เลยนะคะ ธนาคารผิวหนัง จำเป็นแค่ไหนกับคนไทย นำไปใช้อย่างไร บทความนี้จะมานำเสนอให้ติดตามค่ะนะคะ มาลองดูไปด้วยกันเลยค่ะ

สภากาชาดไทย ได้จัดทำโครงการธนาคารผิวหนัง (skin bank) เป็นครั้งแรกของไทยโดยเกิดขึ้นเมื่อ เดือน พฤศจิกายน 2558 จุดประกายก็เพื่อ มุ่งนำผิวหนังไปใช้รักษาแผลผู้ป่วยไฟไหม้ น้ำร้อนลวกขั้นรุนแรงในระดับที่ 2 และระดับที่ 3 เพื่อช่วยลดการติดเชื้อ การสูญเสีย น้ำ เกลือแร่ จากร่างกายของผู้ป่วย เนื่องจาก แผลไฟไหม้ผิวหนังชั้นนอกจะถูกทำลาย ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญทำให้เกิดการติดเชื้อ ผังผืด บาดแผล หดรั้งจนทำให้เกิดความพิการ ทางร่างกาย และเสี่ยงทำให้เสียชีวิตได้ค่ะ

โดยริเริ่มเก็บผิวหนัง หลังมีเหตุคาร์บอม และเกิดเหตุในอุตสาหกรรมต่างๆ ที่เป็นข่าวโด่งดังมาเป็นระยะๆ เช่น หม้อต้มน้ำร้อนลวกคนงาน รถบ้าน รถตู้ รถประจำทาง หรือรถแท็กซี่ที่ติดแก๊สแล้วระเบิด ซึ่งวันหนึ่งหากเกิดเหตุระเบิด ก็จำเป็นต้องใช้ผิวหนังปะ ช่วยในการรักษา  และตอนนี้ก็มีระบบการรับบริจาคผิวหนังอย่างครบวงจรด้วยนะคะ

ในทางการแพทย์นั้น การทำแผลผู้ป่วยไฟไหม้ ไม่สามารถทำแผลได้ง่ายๆ เหมือนผู้ป่วยประสบอุบัติเหตุอื่นๆ เพราะแผลอักเสบจากไฟไหม้นั้น สร้างความเจ็บปวดและทรมานเป็นอย่างมาก เพราะผิวหนังที่ถูกไฟไหม้เบิร์นไปหมดแล้วนั้น อย่าว่าแต่เจ็บปวดจากการทำแผลเลย แค่ลมพัดมาโดนร่างกายก็ทรมานทุรนทุรายมากๆ แล้วแล้วค่ะ อีกทั้งแผลไฟไหม้ จะทำให้ร่างกายจะขาดเกราะป้องกันจากเชื้อโรคภายนอก เพราะไม่มีผิวหนังอยู่ และเชื้อโรคจะแทรกผ่านเนื้อเยื่อบริเวณนั้นมาโจมตีร่างกายได้ง่ายมากอีกด้วยค่ะ ทำให้ผู้ป่วยไฟไหม้ส่วนใหญ่ มักจะเสียชีวิตจากการติดเชื้อผ่านผิวหนัง เสียน้ำและเกลือแร่ภายหลังอีกทีได้ด้วยค่ะ ซึ่งผู้ป่วยต้องได้รับความทุกข์ทรมานเป็นอย่างมากเลยนะคะ

สำหรับขั้นตอนการใช้ผิวหนังเพื่อรักษาก็คือ แพทย์จะใช้อะไหล่ผิวหนังมาหุ้มแผลที่ถูกไฟไหม้ คือใช้ผิวหนังจริงแทนผ้าก๊อซนั่นเองค่ะ ซึ่งข้อดีของการใช้ผิวหนังในการรักษาคือ ถ้าใช้หนังจริง ประมาณ 7 – 10 วัน จึงจะแกะเปลี่ยนผิวหนังรอบนึง ต่างจากผ้าก๊อซที่ต้องแกะล้างแผลทุกวัน สร้างความทรมาณให้กับผู้ป่วยเป็นอย่างมาก และที่สำคัญนะคะการใช้ผิวหนังจริงมาหุ้มไว้นั้น จะช่วยลดการติดเชื้อ และช่วยให้เนื้อเยื่อผิวหนังของสามารถสมานกันเองได้ดีกว่าอีกด้วยค่ะ และเมื่อมีชั้นผิวหนังมาคลุมบาดแผลไว้แบบนี้แล้ว จะทำให้ร่างกายไม่สูญเสียโปรตีน แร่ธาตุ และน้ำเหลืองออกมาภายนอก ลดอาการอักเสบตัวบวม และเพิ่มโอกาสรอดชีวิตให้กับผู้ป่วยได้เป็นอย่างมากเลยค่ะ

หากเทียบกับค่าใช้จ่ายผิวหนังแท้กับผ้าก๊อซที่ต้องเปลี่ยนหลายสิบม้วนต่อการรักษาแผลไฟไหม้แล้ว ผิวหนังแท้ถือว่ามีค่าใช้จ่ายที่ถูกและคุ้มค่ากว่านะคะ จริงอยู่ที่โลกเรามีเทคโนโลยีผิวหนังเทียมแล้ว แต่ค่าใช้จ่ายยังมีราคาที่ค่อนข้างสูงอยู่มากค่ะ ถ้าเป็นผิวหนังจากคลังกาชาดไทย ค่าใช้จ่ายตกอยู่ประมาณ 27 บาท ต่อตร.เซนติเมตรเท่านั้นค่ะ

ทุกวันนี้คนส่วนใหญ่และอาจารย์หมอหลายๆ ท่านอาจยังไม่ทราบว่าสภากาชาดไทยมี ธนาคารผิวหนัง คอยช่วยเหลือผู้ป่วยไฟไหม้แบบนี้ด้วยนะคะ ทำให้คนไข้บางรายอาจต้องรักษาด้วยวิธีพันผ้าก๊อซแบบเดิม ทั้งที่ผิวหนังพวกนี้ปลอดภัย ส่วนใหญ่จัดเก็บจากคนที่สมองตาย และบริจาคอวัยวะเอาไว้แล้ว ซึ่งคนที่รับการปลูกถ่ายผิวหนังแบบนี้ ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องการเข้ากันได้ของผิวหนังใหม่กับร่างกายเดิมเลยนะคะ สาเหตุก็เพราะว่า

  1. ผิวหนังแท้เป็นผิวหนังที่ตายแล้วนั่นเองค่ะ ซึ่งสามารถปลูกถ่ายให้กันข้ามกรุ๊ปเลือดได้
  2. ผิวหนังที่เตรียมใช้รอปลูกถ่ายนั้น มีความสะอาดเป็นอย่างมาก ผ่านการฆ่าเชื้อโดยการแช่ผิวหนังในน้ำยาฆ่าเชื้อมาแล้วเป็นอย่างดี สะอาดถึงระดับที่ว่าคนที่ติดเชื้อ HIV เวลาบริจาคผิวหนังทิ้งไว้ น้ำยาที่ใช้จัดเก็บก็สามารถฆ่าเชื้อ HIV ได้เลยค่ะ เพราะฉะนั้นปลอดภัยหายห่วงได้เลยนะคะ

ถ้าหากต้องการผิวหนังเพื่อนำมาใช้รักษา แนะนำให้คนไข้หรือญาติแจ้งคุณหมอเจ้าของไข้ ขอผ่านไปทางสภากาชาดไทยได้เลยนะคะ ต้องการผิวหนังจริงรักษาผู้ป่วยไฟไหม ติดต่อ สายด่วน 1666 สภากาชาดไทย สามารถเบิกมาใช้ได้ทันที หากมีเหตุต้องการเร่งด่วน และที่สำคัญสำหรับคนไข้บางราย ที่ไม่มีกำลังทรัพย์รักษาตัวเองจริงๆ ทางสภากาชาดไทย ก็ให้ความอนุเคราะห์ดูแลค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ให้อีกด้วยนะคะ

สำหรับการดำเนินงานของธนาคารผิวหนังนั้น จะเป็นรูปแบบการขอรับบริจาคผิวหนัง เช่นเดียวกับการขอรับบริจาคอวัยวะหรือเนื้อเยื่อต่างๆ ซึ่งผิวหนังที่ได้รับบริจาคจะนำไปใช้รักษาให้กับผู้บาดเจ็บมีแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกรุนแรง เนื่องจาก แผลไฟไหม้นั้นผิวหนังชั้นนอกจะถูกทำลาย ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญทำให้เกิดการติดเชื้อ และเกิดพังผืด ทำให้เกิดบาดแผล หดรั้งจนทำให้เกิดความพิการ ทางร่างกาย และเสี่ยงทำให้เสียชีวิตได้นั่นเองค่ะ

การรักษาบาดแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แพทย์จะกำจัดผิวหนังที่ถูกทำลายออกไปให้หมด รักษาบาดแผลให้ปลอดเชื้อ เตรียมความพร้อมในการปลูกถ่ายผิวหนังลงไปทดแทน ในระหว่างนี้จะต้องใช้วัสดุปิดแผลชั่วคราวเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ทำให้แผลสมานตัว เมื่อผิวหนังเริ่มสร้างเซลล์ทดแทนจึงนำวัสดุปิดแผลออก ปัจจุบันวัสดุปิดแผลชั่วคราวที่ใช้อยู่แพร่หลายมีหลายชนิด ทั้งวัสดุชีวภาพ วัสดุสังเคราะห์ วัสดุวิศวกรรม มีลักษณะเป็นแผ่นฟิล์มสีขาวบางๆ แต่มีราคาแพง หากสามารถใช้ประโยชน์จากการบริจาคผิวหนังได้ ก็จะสามารถลดต้นทุนและช่วยเหลือชีวิตผู้ป่วยได้มากขึ้นค่ะ

อย่างไรก็ตามขั้นตอนการนำผิวหนังไปใช้ แพทย์ต้องแจ้งมาที่คลังผิวหนัง ศูนย์บริจาคอวัยวะ ว่าต้องการผิวหนัง ขนาดเท่าใด จำนวนเท่าไหร่ ใช้ในวันใด และชนิดใด เนื่องจาก คลังผิวหนังเตรียมไว้ 2 ชนิด เพื่อเลือกใช้งานได้ตามความเหมาะสม คือ แบบเรียบ และ แบบตาข่าย จากนั้นสภากาชาดไทยจะนำส่งผิวหนังใส่กล่องพลาสติก หรือโฟมรักษาความเย็น ส่งไปให้ที่ รพ. ล่วงหน้าก่อนผ่าตัด ซึ่งก่อนใช้ ต้องนำผิวหนังมาล้างด้วยน้ำยาที่รักษาสภาพผิวออกให้หมด แล้วจึงไปใช้ปิดรักษาผู้ป่วยต่อไป

ทั้งนี้ ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย พร้อมให้บริการผิวหนังสำหรับปลูกถ่ายเพื่อช่วยชีวิตผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ ไม่คิดมูลค่าจำนวน 30 คน ตั้งแต่วันนี้ถึง 30 กันยายน 2565 โดยสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ คลังเนื้อเยื่อ ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย โทร 1666, 0 2256 4045-6 ต่อ 2508, 09 2247 9864 เฉพาะสำหรับโรงพยาบาลที่ต้องการใช้เนื้อเยื่อผิวหนังจาก ธนาคารผิวหนัง ของสภากาชาดไทย

คะแนน SEO
กด 5 ดาวถ้าชอบบทความนี้
[Total: 0 Average: 0]